แผลกดทับ

บทความ และสาระน่ารู้

เรื่องราวและสาระต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพและการนอน

สาระน่ารู้ : บทความที่จะหมุนเวียนนำเสนอเป็นประจำทุกสัปดาห์ เสริมสร้างความรู้ และความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากฟองยางพาราธรรมชาติแท้ 100% รวมถึงเรื่องราวและสาระต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพและการนอน

สำหรับสาระน่ารู้ในครั้งนี้ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ “แผลกดทับ ภัยร้ายที่แฝงตัวเงียบ ๆ ระหว่างการนอน” เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับแผลกดทับ สาเหตุการเกิด ระดับความอันตราย รวมไปจนถึงวิธีการดูแลรักษา และการป้องกันการเกิดแผลกดทับ เพื่อความปลอดภัย และสุขอนามัยที่ดี โดยเฉพาะสำหรับผู้สูงวัย และผู้ป่วยติดเตียง

“การนอนหลับ คือการพักผ่อนที่ดีที่สุด”

มนุษย์เรามีความจำเป็นต้องใช้เวลาในการนอนหลับมากถึงหนี่งในสามส่วนของการดำรงชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เช่นเดียวกับการรับประทานอาหารและการหายใจ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอและมีคุณภาพนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากระหว่างที่เรานอนหลับ การทำงานของทุกระบบภายในร่างกายก็จะได้พักหรือผ่อนคลายตามไปด้วย ทำให้การเต้นของหัวใจช้าลง การหายใจช้าลงและสม่ำเสมอ มีการหลั่งของฮอร์โมนที่มีส่วนกระตุ้นและสร้างความเครียดลดลง แต่จะมีการหลั่งของฮอร์โมนบางชนิดออกมาเพื่อช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเซลต่าง ๆ มากขึ้น

ดังนั้น หากนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือนอนหลับอย่างไม่มีคุณภาพ ร่างกายก็จะรู้สึกอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ คิดไม่ออก การตัดสินใจเรื่องราวต่าง ๆ ช้าลง นอกจากนี้ฮอร์โมนที่มีส่วนกระตุ้นและสร้างความเครียดยังหลั่งมาก ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน และอาการป่วยไข้อื่น ๆ อีกมากมาย

จากการค้นพบคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของยางพาราธรรมชาติ ซึ่งให้คุณประโยชน์แก่มนุษย์อย่างมากมายหลากหลายด้าน จึงได้มีการนำยางพาราธรรมชาติมาทำการวิจัย ศึกษา และพัฒนามาเป็นวัสดุที่ใช้ในการรองรับโครงสร้างและสรีระของร่างกาย ทำหน้าที่โอบอุ้มและพยุงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้มีความสมดุลอย่างเป็นธรรมชาติในขณะนอนหลับ ด้วยความยืดหยุ่นและทนทานต่อแรงกดทับเป็นเลิศ เพื่อให้ทุกสรีระของร่างกายได้ผ่อนคลาย ด้วยความสบายอย่างมีคุณภาพมากที่สุด

“การนอนหลับที่ดี เป็นจุดเริ่มต้นสู่การดำรงชีวิตที่มีประสิทธิภาพ”

ด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงปัจจัยทางกายภาพ และความพึงพอใจที่แตกต่างกันของมนุษย์เรา รวมถึงแนวคิดที่ว่า “การนอนหลับที่ดี เป็นจุดเริ่มต้นสู่การดำรงชีวิตที่มีประสิทธิภาพ” TRULYLATEX MATTRESS จึงนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่นอนและท็อปเปอร์ยางพารา รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการนอน และแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการนอน ซึ่งผลิตจากฟองยางพาราธรรมชาติแท้ 100% คุณภาพระดับ Premium เกรด A หลากหลายค่าความหนาแน่น ด้วยความสด ใหม่ จากสายการผลิตทุกวัน เพื่อนำท่านกลับสู่การดำรงชีวิตที่มีประสิทธิภาพ..อีกครั้ง

Warranty

ช่องทางลัดในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของ TRULYLATEX MATTRESS


ทางเลือกเพื่อเข้าถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของ TRULYLATEX MATTRESS


เพื่อความสะดวกและประหยัดเวลาสำหรับผู้ใช้บริการที่ประสงค์จะเข้าถึงรายการผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว TRULYLATEX MATTRESS จึงได้จัดเตรียมช่องทางลัดสำหรับให้ท่านได้เลือกรายการผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบรายละเอียด ราคา รวมถึงทำการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ได้อย่างง่ายดายดังต่อไปนี้ หรือสามารถรับชมข้อมูลในหมวดนี้ต่อไปได้ในหัวข้อถัดไป

แผลกดทับ ภัยร้ายที่แฝงตัวเงียบ ๆ ระหว่างการนอน


แผลกดทับ (Pressure Sores หรือ Bedsores)


วันนี้ TRULYLATEX MATTRESS มีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “แผลกดทับ” ซึ่งเป็นภัยร้ายที่แฝงตัวเงียบ ๆ ระหว่างการนอนมาให้ได้ศึกษาและเรียนรู้ เพื่อให้สามารถจัดการและรับมือกับแผลกดทับที่อาจเกิดขึ้นกับบุคคลที่เราเคารพรักได้ โดยที่เราอาจไม่ทันรู้และได้ระวังตั้งตัว

ความหมายของแผลกดทับ

แผลกดทับ คือการได้รับบาดเจ็บเฉพาะที่ของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่หุ้มกระดูกหรือปุ่มกระดูก เช่น ข้อศอก หัวไหล่ ส้นเท้า ข้อเท้า สะโพก หรือกระดูกก้นกบ เป็นต้น รวมถึงบริเวณที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์กดทับ การเกิดแผลกดทับมักพบในผู้ป่วยที่มีการนอนอยู่บนเตียงหรือบนรถเข็นเป็นเวลานานกว่าปกติ ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่ค่อยได้รับการพลิกตะแคงตัว ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว จนเกิดแผลกดทับที่ผิวหนังตามตำแหน่งต่าง ๆ รวมถึงผู้สูงอายุที่มักมีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกาย ผิวหนังเสื่อมลงตามอายุ

สาเหตุการเกิดแผลกดทับ

แผลกดทับเกิดจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายได้รับแรงกดจากน้ำหนักตัว หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณดังกล่าวได้ไม่เพียงพอ ซึ่งเมื่อเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะที่ถูกดทับ เนื้อเยื่อก็จะถูกทำลายและเริ่มตาย เนื่องจากภาวะขาดออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ที่จำเป็น ซึ่งเลือดไม่สามารถนำไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ นอกจากนี้ยังส่งผลให้ผิวหนังไม่ได้รับเซลล์เม็ดเลือดขาวสำหรับต้านทานเชื้อโรค เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อที่แผลกดทับได้

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแผลกดทับ

1. แรงกด เมื่ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายได้รับแรงกดจากน้ำหนักตัว หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณดังกล่าวได้ไม่เพียงพอ ซึ่งเมื่อเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะที่ถูกดทับ เนื้อเยื่อก็จะถูกทำลายและเริ่มตาย เนื่องจากภาวะขาดออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ที่จำเป็น ซึ่งเลือดไม่สามารถนำไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้

2. แรงเสียดสี ผิวหนังบริเวณที่มีการเสียดสีกับเสื้อผ้าหรือผ้าปูที่นอนเป็นประจำ จะเกิดแผลกดทับได้ง่ายกว่าผิวหนังบริเวณที่ปราศจากการเสียดสี โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะผิวอับชื้น

3. แรงเฉือน ชั้นผิวหนังเกิดการดึงรั้งกัน มักเกิดขึ้นเมื่อมีการปรับระดับองศาการนอนหรือปรับเตียงขึ้นในระดับสูง ซึ่งผู้นอนจะไถลตัวลงตามแรงโน้มถ่วงและน้ำหนักตัว ส่งผลให้ผิวหนังบริเวณก้นกบเกิดการดึงรั้ง

นอกจากนี้ ปัญหาการเคลื่อนไหว ภาวะโภชนาการไม่ดี ปัญหาสุขภาพบางอย่าง รวมถึงอายุที่มากขึ้น และปัญหาสุขภาพจิต ก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดแผลกดทับได้ด้วยเช่นกัน

ปัญหาการเคลื่อนไหว

ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกาย ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดแผลกดทับได้ โดยปัญหาดังกล่าวอาจมาจากการได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง หรือสมองถูกทำลายจากโรคหลอดเลือดในสมอง หรือได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง ส่งผลให้ไม่สามารถขยับแขนหรือขาได้ หรือก่อให้เกิดอัมพาต รวมถึงการป่วยเป็นโรคบางอย่างเกี่ยวกับเส้นประสาทที่ใช้ในการเคลื่อนไหวร่างกาย ผู้ที่อยู่ระหว่างการพักฟื้นจากการผ่าตัดใหญ่ และผู้ที่ประสบภาวะโคม่า

ภาวะโภชนาการไม่ดี

เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน และไม่เพียงพอต่อความต้องการร่างกาย หรือได้รับสารอาหารที่มากเกินกว่าความต้องการของร่างกาย ก่อให้เกิดภาวะผอมแห้ง มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ หรือภาวะอ้วน มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดแผลกดทับได้ โดยเฉพาะเมื่อพบปัญหาการเคลื่อนไหวร่วมด้วย

ปัญหาสุขภาพบางอย่าง

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคบางอย่างอาจเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับได้ง่าย โดยปัญหาสุขภาพที่เอื้อให้เกิดแผลกดทับนั้นประกอบด้วย โรคเบาหวาน ที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและอาจส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกาย โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน โรคหัวใจ โรคไต โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยโรคต่าง ๆ เหล่านี้มักก่อให้เกิดปัญเกี่ยวกับการนำพาออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ไปเลี้ยงอวัยวะ ซึ่งหากเลือดไม่สามารถนำออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ที่จำเป็นไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนที่ได้รับผลกระทบจากโรคได้ เนื้อเยื่อก็จะถูกทำลายและเริ่มตาย

นอกจากนี้ผู้ที่ป่วยเกี่ยวกับภาวะกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ จะมีผิวหนังบางส่วนที่อับชื้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากผิวหนังที่อับชื้นเป็นระยะเวลานานมักก่อให้เกิดแผลกดทับตามมาด้วยเช่นกัน

อายุที่มากขึ้น

ผู้ที่มีอายุมากขึ้นเสี่ยงเกิดแผลกดทับได้ง่าย เนื่องจากผิวหนังเสื่อมลงตามอายุ สูญเสียความยืดหยุ่น เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังได้น้อยลง รวมถึงไขมันใต้ผิวหนังที่มีปริมาณลดลง ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจากการเสื่อมสภาพไปตามวัย

ปัญหาสุขภาพจิต

ผู้ที่ประสบปัญหาสุขภาพจิตรุนแรง เช่น โรคจิตเภท หรือโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรง เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดแผลกดทับได้ง่าย เนื่องจากภาวะโภชนาการไม่ดี และหากพบภาวะป่วยเป็นโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เบาหวาน หรือภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ก็จะยิ่งทวีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดแผลกดทับตามมาด้วยเช่นกัน เนื่องมาจากความสามารถหรือความใส่ใจในการดูแลรักษาความสะอาดร่างกายที่ลดลง

ลักษณะอาการของแผลกดทับ

อวัยวะที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับนั้น มักเป็นบริเวณอวัยวะที่ไม่มีไขมันปกคลุมผิวหนังมาก และเป็นอวัยวะส่วนที่รับแรงกดทับจากน้ำหนักตัวหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์โดยตรง ผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ และต้องนอนบนเตียงตลอดเวลาในลักษณะนอนหงาย จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับที่บริเวณด้านหลังหัวไหล่ ข้อศอก ท้ายทอย กระดูกสันหลัง หรือกระดูกก้นกบ ส้นเท้า หรือหากอยู่ในลักษณะการนอนตะแคงข้าง จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับที่บริเวณด้านข้างใบหู หัวไหล่ด้านนอก สะโพก ด้านนอกของเข่า ข้อเท้า สันเท้า และสำหรับผู้ป่วยที่ต้องนั่งรถเข็นเป็นเวลานานมักจะเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับที่บริเวณก้น หลังแขน หลังต้นขา หรือด้านหลังของกระดูกสะโพก โดยผู้ป่วยจะเกิดอาการหลายอย่าง ได้แก่ สีหรือลักษณะผิวหนังเกิดความผิดปกติ มีอาการบวม มีหนองออกมา เกิดอาการอุ่นหรือเย็นบริเวณผิวหนังที่เกิดแผลกดทับ มีอาการเจ็บเมื่อกดบริเวณที่เป็นแผลกดทับ โดยระดับความรุนแรงของอาการแผลกดทับจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้

แผลกดทับ

ระยะที่ 1

ในระยะแรก แผลกดทับจะไม่เปิดออก ผิวหนังบริเวณแผลกดทับจะมีลักษณะอุ่น นุ่มหรือแข็ง ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บและระคายเคือง ผิวหนังบริเวณแผลจะไม่มีสี ผู้ป่วยที่มีผิวขาวอาจเกิดรอยแดง ส่วนผู้ป่วยที่มีสีผิวเข้มอาจเกิดสีเขียวอมม่วง เมื่อออกแรงกดลงไปบนแผล บริเวณแผลจะไม่เปลี่ยนเป็นสีขาว

ระยะที่ 2

แผลกดทับในระยะนี้จะมีลักษณะเป็นแผลเปิดหรือมีแผลตุ่มน้ำพอง เนื่องจากหนังกำพร้าบางส่วนและหนังแท้ถูกทำลาย ส่งผลให้ผิวหนังหลุดลอกตัวออก ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บที่แผลมากขึ้นได้

ระยะที่ 3

แผลกดทับในระยะนี้จะมีลักษณะเป็นโพรง ซึ่งอาจสามารถมองเห็นถึงชั้นไขมันที่แผลได้ เนื่องจากผิวหนังทั้งหมดหลุดออกไป และเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไปในชั้นผิวหนังถูกทำลาย

ระยะที่ 4

แผลกดทับในระยะนี้เป็นระยะร้ายแรงที่สุด มีลักษณะเป็นโพรงลึก โดยผิวหนังทั้งหมดถูกทำลายอย่างรุนแรง รวมทั้งเนื้อเยื่อที่อยู่ล้อมรอบเริ่มตายหรือที่เรียกว่าเนื้อเยื่อตายเฉพาะส่วน กล้ามเนื้อและกระดูกที่อยู่ลึกลงไปอาจถูกทำลายไปด้วย

การวินิจฉัยแผลกดทับ

เบื้องต้นแพทย์จะตรวจดูว่าผู้ป่วยเสี่ยงเกิดแผลกดทับหรือไม่ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะดังกล่าว แพทย์จะพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วย ได้แก่ ภาวะสุขภาพโดยรวม สมรรถภาพในการเคลื่อนไหวของร่างกาย ปัญหาสุขภาพที่อาจส่งผลต่อการจัดท่าทาง อาการบ่งชี้การติดเชื้อ ภาวะสุขภาพจิต ประวัติการเกิดแผลกดทับ ปัญหาเกี่ยวกับการกลั้นปัสสาววะและอุจจาระ ภาวะโภชนาการ และระบบไหลเวียนโลหิต โดยแพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อประเมินสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย และพิจารณาว่าได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายหรือไม่ รวมทั้งทำการตรวจปัสสาวะเพื่อดูการทำงานของไต และการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

การวินิจฉัยแผลกดทับสามารถทำได้ด้วยตนเองหรือผู้ดูแลและใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยใช้วิธีสังเกตอวัยวะต่าง ๆ ของผู้ป่วยว่าผิวหนังมีสีผิวซีดลง แข็งหรือนุ่มกว่าปกติหรือไม่ หากพบอาการดังกล่าว หากสังเกตพบสัญญาณของการเกิดแผลกดทับ ควรขยับร่างกายปรับเปลี่ยนท่าทางตนเองหรือผู้ป่วย เพื่อบรรเทาแรงกดทับบริเวณดังกล่าว และควรรีบพบแพทย์ทันทีหากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 24-48 ชั่วโมง และควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาต่อไปในทันทีหากพบว่ามีไข้ พบของเหลวซึมออกมาจากแผล มีกลิ่นผิดปกติที่แผล มีรอยแดงเพิ่มมากขึ้น มีอาการอุ่น ๆ และอาการบวมของแผลเพิ่มขึ้น

หากท่านเลือกที่จะใช้ท่านอนตะแคงแล้วละก็ ท่าท่อนซุง หรือท่าผู้ใฝ่ฝัน จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าท่าทารกในครรภ์

การรักษาแผลกดทับ

ผู้ป่วยเกิดแรงกดทับที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งน้อยลง ดูแลรักษาแผล บรรเทาอาการเจ็บแผล ป้องกันการติดเชื้อ และช่วยให้ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการที่ดี

แผลกดทับจัดเป็นปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อน จำเป็นต้องมีกลุ่มการรักษาที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน ได้แก่ แพทย์ผู้ดูแลแผนการรักษา แพทย์ผิวหนัง ศัลยแพทย์ด้านประสาท กระดูก และศัลยกรรมตกแต่ง พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด และนักโภชนาการ

แผลกดทับมีวิธีการรักษาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะของอาการที่พบ โดยผู้ป่วยที่มีแผลกดทับระยะที่ 1 และระยะที่ 2 สามารถหายได้หากได้รับการดูแลอย่างใส่ใจ ส่วนผู้ป่วยระยะที่ 3 และระยะที่ 4 อาจใช้เวลารักษานานกว่า วิธีรักษาแผลกดทับแบ่งตามการรักษาอาการของโรค ได้แก่ การลดแรงกดทับ การดูแลแผล การรักษาเนื้อเยื่อตาย และการรักษาอื่น ๆ ดังนี้

การลดแรงกดทับ

วิธีรักษาแผลกดทับขั้นแรกคือลดการกดทับอวัยวะที่เกิดภาวะดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดแรงกดทับมากขึ้นและลดการเสียดสีของผิวหนัง ซึ่งทำได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนหรือขยับร่างกายบ่อย ๆ ผู้ป่วยที่นั่งรถเข็นควรขยับร่างกายทุก ๆ 15 นาที หรือเปลี่ยนท่านั่งทุกชั่วโมง ส่วนผู้ป่วยที่นอนบนเตียงควรเปลี่ยนท่านอนทุก ๆ 2 ชั่วโมง เลือกใช้ที่นอนที่ทำจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นพอเหมาะกับน้ำหนักตัวของผู้ป่วย และสามารถถ่ายเทอากาศได้เป็นอย่างดี หรือเบาะรองนั่งที่ช่วยหนุนร่างกายให้นั่งหรือนอน โดยไม่ทำให้ผิวหนังเกิดการดึงรั้งกัน

การดูแลแผล

การดูแลแผลกดทับจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง และความลึกของแผล โดยทั่วไปแล้ว แผลกดทับสามารถดูแลรักษาได้ ดังนี้

หากผิวหนังที่เกิดแผลกดทับไม่เปิดออกหรือเป็นแผลปิด ให้ล้างแผลด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอ่อน ๆ และเช็ดให้แห้ง ส่วนผู้ป่วยที่มีแผลเปิด ให้ทำการล้างแผลด้วยน้ำเกลือสำหรับล้างแผลทุกครั้งเมื่อต้องทำแผล และพันแผลเพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น เนื่องจากช่วยให้แผลชุ่มชื้นอยู่เสมอ และช่วยลดการเสียดสีบริเวณแผลและผิวหนังโดยรอบ

การรักษาเนื้อเยื่อตาย

การที่จะรักษาแผลกดทับให้หายได้นั้น แผลจะต้องไม่เกิดการติดเชื้อ หรือเกิดเนื้อเยื่อตาย ผู้ป่วยที่มีเนื้อเยื่อตายจะได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเนื้อตาย โดยแพทย์จะทำความสะอาดแผลและตัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกไป หรือรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาอาการติดเชื้อและป้องกันไม่ให้เกิดการลุกลาม

นอกจากนี้ยังมีการใช้ครีมหรือขี้ผึ้งสำหรับใช้ทาเพื่อการรักษา ช่วยให้แผลหายไวขึ้นและป้องกันเนื้อเยื่ออื่นถูกทำลาย การให้ยาแก้ปวดเฉพาะที่ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด รวมถึงการใช้อาหารเสริมประเภทโปรตีน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จำเป็น อาทิ สังกะสี และวิตามิน เพื่อช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น ผู้ป่วยแผลกดทับระยะรุนแรงที่รักษาแผลให้หายไม่ได้ จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยนำส่วนของกล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อบริเวณอื่นในร่างกายตนเองมาปิดแผล

การป้องกันการเกิดแผลกดทับ

1. การปรับเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ ช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับได้เป็นอย่างดี เนื่องจากวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยได้หลีกเลี่ยงการกดทับจากน้ำหนักตัวลงบนอวัยวะจากการนอนหรือการนั่ง โดยเปลี่ยนถ่ายน้ำหนักไปที่อวัยวะส่วนอื่นตามเระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งการจัดท่าทางเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแรงกดทับ สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนท่าทางขณะนั่งบนรถเข็นอย่างน้อยทุก ๆ 15 นาที และพลิกตัวเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก ๆ 2 ชั่วโมง แม้ระหว่างการนอนในยามดึก เพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำหนักตัวไม่ให้กดทับลงที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นเวลานาน สำหรับผู้ป่วยที่ต้องนั่งรถเข็นอาจใช้แขนดันร่างกายส่วนบนให้ยกขึ้นเป็นบางครั้ง และควรเลือกใช้รถเข็นที่ปรับระดับได้ เพื่อช่วยผ่อนแรงกดทับ เลือกใช้ที่นอนที่ทำจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นพอเหมาะกับน้ำหนักตัวของผู้ป่วย และสามารถถ่ายเทอากาศได้เป็นอย่างดี ปรับระดับความสูงของหัวเตียงไม่เกินกว่า 30 องศา หรือเลือกใช้เบาะรองนั่งที่ช่วยหนุนร่างกายให้นั่งหรือนอน โดยไม่ทำให้ผิวหนังเกิดการดึงรั้งกัน

2. การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารจำพวกโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่อย่างหลากหลายจะช่วยป้องกันผิวหนังถูกทำลาย และช่วยสมานแผลให้หายได้เร็วขึ้น หากผู้ป่วยรู้สึกอยากอาหารน้อยลงเนื่องจากปัญหาสุขภาพ ควรแบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อย่อย และรับประทานอาหารให้เป็นเวลา หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำปริมาณมากก่อนรับประทานอาหาร เลือกดื่มเครื่องดื่มที่อุดมด้วยสารอาหาร หรือรับประทานอาหารอ่อน ๆ ในกรณีที่ผู้ป่วยกลืนอาหารลำบาก

3. ชำระล้างทำความสะอาดผิวหนัง และเช็ดให้แห้งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังอับชื้น ดูแลผิวหนังอย่างสม่ำเสมอ เช่น ทาโลชั่นสำหรับผิวแห้ง เปลี่ยนเสื้อผ้าและผ้าปูที่นอนเป็นประจำ ตรวจดูกระดุมเสื้อหรือตะเข็บของผ้าปูที่นอนให้ดี เพื่อป้องกันการเสียดสีโดยตรงกับผิวหนัง

เพื่อเป็นการป้องกันและช่วยบรรเทาอาการแผลกดทับ รวมถึงลดระยะเวลาในการรักษาแผลกดทับให้แก่ผู้ป่วย วัสดุรองนอนที่มีคุณสมบัติด้านความยืดหยุ่นที่เหมาะสม ช่วยในการระบายและถ่ายเทอากาศได้เป็นอย่างดี จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับโอกาสในการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าการรักษาตามปกติ โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับ และผู้ป่วยที่มีอาการแผลกดทับในระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 3

ด้วยแนวคิดและความเชื่อมั่นว่า “การนอนหลับที่ดี เป็นจุดเริ่มต้นสู่การดำรงชีวิตที่มีประสิทธิภาพ” TRULYLATEX MATTRESS จึงเลือกนำเสนอที่นอนยางพารา และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการนอน ซึ่งผลิตจากฟองยางพาราจากธรรมชาติแท้ 100% ชนิด Latex foam (ยางพาราอบขึ้นรูป) ล้วน ๆ คุณภาพระดับ Premium เกรด A อย่างแท้จริงของไทย ไม่ใช้ SBR และ Synthetics หรือสารเสริมเพื่อลดต้นทุนการผลิต ไม่เสริมชั้นวัสดุอื่นใด ไม่ใช่วัสดุสังเคราะห์หรือเทียบเคียง เพื่อมอบความสุข ความสบาย รวมถึงโอกาสในการกลับสู่การดำรงชีวิตที่มีประสิทธิภาพให้แก่ผู้บริโภค โดยทุกผลิตภัณฑ์ยางพาราของ TRULYLATEX MATTRESS ล้วนผลิตจากฟองยางพาราธรรมชาติแท้ 100% คุณภาพระดับ Premium เกรด A ผ่านกรรมวิธีการผลิตตามขั้นตอนของดันลอป (Dunlop Process) ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตที่นอนฟองยางพาราธรรมชาติแท้ 100% Premium เกรด A แบบดั้งเดิม โดยอาศัยกระบวนการทางเคมี ซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์ยางพาราที่เรียกว่า Latex foam (ฟองยางพารา) และกรรมวิธีการผลิตแบบดันลอปนี้ จะใช้ในการผลิตที่นอนฟองยางพาราธรรมชาติแท้ 100% คุณภาพระดับ Premium เกรด A เท่านั้น มีคุณสมบัติอันเป็นเอกลักษณ์ในด้านความยืดหยุ่นที่เหมาะสม ทนทาน ช่วยกระจายแรงกดจากน้ำหนักสรีระของผู้นอนให้สมดุลยิ่งขึ้น และสามารถระบายถ่ายเทอากาศได้อย่างเป็นเลิศ ด้วยโครงสร้างเซลแบบเปิดของฟองยางพารา จึงช่วยลด บรรเทา รวมถึงป้องกันอาการแผลกดทับให้แก่ผู้นอนได้อย่างทรงประสิทธิภาพที่สุด

ด้วยคุณสมบัติอันเป็นเอกลักษณ์หลายประการของยางพาราชนิด Latex foam ที่สามารถประมวลได้ดังต่อไปนี้

• เป็นผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบตามธรรมชาติที่ปราศจากสารเคมี สารพิษ และสารตกค้าง จึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

• มีความยืดหยุ่นและทนทานที่สุด เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันซึ่งผลิตจากวัสดุชนิดอื่น สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและเป็นเวลายาวนาน โดยไม่เกิดการทรุดตัว

• ไม่ก่อให้เกิดไฟฟ้าสถิต จึงไม่เกิดการรบกวนใด ๆ ต่อคลื่นสมองตลอดระยะเวลาในการนอนหลับ

• มีความยืดหยุ่นและแรงสปริงที่เป็นธรรมชาติ ทำให้มีการรองรับทุกสรีระของร่างกาย และช่วยโอบอุ้มพยุงส่วนหลังและเรือนร่างของคนเรา ให้อยู่ในท่าทางอันเป็นธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์และเหมาะสมที่สุด ตลอดทุกการเคลื่อนไหวในเวลานอนหลับ

• ปราศจากระบบสปริงและการเสริมโครงสร้าง รวมถึงแกนใด ๆ ภายใน ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวนและแรงสั่นสะเทือน แม้ในยามพลิกตัวหรือขณะเปลี่ยนท่าทางในการนอน

• ช่วยลดการเกิดเหงื่อและความอับชื้นในระหว่างการนอนหลับ ด้วยระบบรูระบายอากาศ ซึ่งช่วยในการระบายความร้อนและความชื้นที่เกิดจากอุณหภูมิของร่างกายในขณะนอนหลับ

• มีความหนาแน่นที่เหมาะสมกับน้ำหนักตัวของผู้นอนในแต่ละกลุ่ม ซึ่งจะช่วยเพิ่มความโค้งในบริเวณที่รับน้ำหนัก โดยเฉพาะบริเวณรอบ ๆ สะโพก บั้นเอว และหัวไหล่ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้แนวกระดูกสันหลังอยู่ในท่าที่ตรงและเหมาะสมมากขึ้น ทำให้เรือนร่างของผู้นอนอยู่ในระนาบที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ช่วยลดอาการปวดหลังจากการนอนหลับได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังสามารถกำหนดค่าความหนาแน่น (Density) ของฟองยางพาราได้หลายระดับตามความพึงพอใจ

• ด้วยคุณสมบัติในการระบายอากาศที่เป็นเลิศ จึงปลอดแบคทีเรียและเชื้อรา รวมทั้งปราศจากสารเจือปนต่าง ๆ

นอกจากคุณสมบัติอันเป็นเลิศ และเป็นเอกลักษณ์ของยางพาราข้างต้นแล้ว ที่นอนและท็อปเปอร์ยางพารายังมีความยืดหยุ่นและทนทานที่สุด เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันซึ่งผลิตจากวัสดุชนิดอื่น ผลิตด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมีปนเปื้อน สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและเป็นเวลายาวนาน โดยไม่เกิดการทรุดตัว จึงเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันในระดับสากลว่า ที่นอนและท็อปเปอร์ยางพารา เป็นผลิตภัณฑ์รองนอนที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้งานอย่างยิ่ง

การป้องกันที่ดี ย่อมทรงประสิทธิผลกว่าการแก้ไขหรือการรักษา ซึ่งต้องอาศัยทั้งเวลา ค่าใช้จ่าย รวมถึงความอดทนของทั้งผู้ป่วยเอง และผู้ดูแล ดังนั้น การเลือกวัสดุรองนอนที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน ผลิตภัณฑ์ที่นอนและท็อปเปอร์ยางพาราธรรมชาติแท้ 100% คุณภาพระดับ Premium เกรด A ของ TRULYLATEX MATTRESS จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยส่งเสริม “การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ” ให้แก่ท่าน และคนที่ท่านรัก ตามแนวคิดที่ว่า “การนอนหลับที่ดี เป็นจุดเริ่มต้นสู่การดำรงชีวิตที่มีประสิทธิภาพ” เพื่อนำท่านกลับสู่การดำรงชีวิตที่มีประสิทธิภาพ..อีกครั้ง


บทความและสาระน่ารู้เพิ่มเติม


สาระน่ารู้ ตอนที่ 1

การเลือกความหนาแน่นของที่นอนยางพาราให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน ตามสภาวะของสุขภาพและปัจจัยต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

สาระน่ารู้ ตอนที่ 2

ค่าดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) คืออะไร สำคัญแต่ไหน และมีการคำนวนอย่างไร

สาระน่ารู้ ตอนที่ 3

ท่านอนต่าง ๆ หลายแบบ ที่แต่ละท่านคุ้นชิน ล้วนแล้วแต่มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างอย่างไรกันบ้าง

สาระน่ารู้ ตอนที่ 4

รู้จักกับ “แผลกดทับ” สาเหตุการเกิด อาการและความรุนแรง การดูแลรักษา และการป้องกัน เพื่อการดูแลคนที่คุณรัก

และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่สนใจทุกท่าน TRULYLATEX MATTRESS มีความยินดีให้บริการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ได้ตลอดทุกวัน โดยสามารถทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ตามกำหนดวันที่นัดหมายได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 9:00-19:00 น. ไม่เว้นวันหยุด

© 2010-2021 สงวนสิทธิ์และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย โดย TRULYLATEX.com

Footer Logo
TRULYLATEX MATTRESS Logo

TRULYLATEX MATTRESS

เลขที่ 107/28 ซอย 4 หมู่บ้านปริญญดา ไลท์ พระราม 5 ถนนราชพฤกษ์ ตำบลบางกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

โทรศัพท์: 086-554-3517, 083-704-2825 และ 0-2403-3573

โทรสาร: 0-2403-3573
อีเมล์: service@trulylatex.com
เว็บไซต์: https://www.trulylatex.com
Facebook: https://www.facebook.com/trulylatex
LINE ID: trulylatex

Line Application

More Information Please Call 086-554-3517
Payment Logo
Footer Logo
Scroll Up